ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Better Brain Program) A Development for Brain Potential Enhancement Model for students with learning disabilities via Distance Learning Technology (Better Brain Program) ------------------------------------------------ ความเคลื่อนไหวสำคัญ 18 - 22 สิงหาคม 2559 สพฐ.จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมปฏิบัติการ ตามโครงการวิจัยเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนที่มีแนวโน้มบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Better Brain Program) ณ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี การประชุมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุม คือ เขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนที่ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย Better Brain Program ซึ่งจะถูกพัฒนาให้ต้นแบบสถานศึกษา Better Brain Program กลุ่มแรกของประเทศ จาก 8 เขตพื้นที่ จำนวน 40 โรงเรียน สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 1. โรงเรียนวัดบางวัว 2. โรงเรียนประชาฤกษ์สมบูรณ์ 3. โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม 4. โรงเรียนวัดผาณิตาราม 5. โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณ สพป.สุพรรณ เขต 1 1. โรงเรียนบ้านบางกุ้ง 2. โรงเรียนวัดไก่เตี้ย 3. โรงเรียนวัดยาง 4. โรงเรียนวัดพระธาตุ 5. โรงเรียนวัดป่าพระเจ้า สพป.เชียงใหม่ เขต 3 1. โรงเรียนบ้านศรีดอนชัย 2. โรงเรียนบ้านป่าบง (อ.ฝาง) 3. โรงเรียน ตชด.ไลออนส์มหาจักร 8 4. โรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่ 5. โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ สพป.กำแพงเพชร เขต 1 1. บ้านทุ่งมหาศาล 2. บ้านหนองเต่าสามัคคี 3. บ้านนาบ่อคำ 4. บ้านหนองแม่แตง 5. บ้านเทพนคร สพป.ปัตตานี เขต 1 1. โรงเรียนบ้านแคนา 2. โรงเรียนบ้านท่าชะเมา 3. โรงเรียนบ้านมะรวด 4. โรงเรียนบ้านตะโละสะมิแล 5. โรงเรียนบ้านค่าย สพป.ชุมพร เขต 1 1. โรงเรียนบ้านหาดภารดรภาพ 2. โรงเรียนบ้านหาดหงษ์ 3. โรงเรียนบ้านทรายแก้ว 4. โรงเรียนวัดดอนทรายแก้ว 5. โรงเรียนบ้านปากน้ำเผดิมจีนนาวาสงเคราะห์ สพป. อุบลราชธานี เขต 1 1. โรงเรียนบ้านสร้างมิ่ง 2. โรงเรียนบ้านด้ามพร้า 3. โรงเรียนบ้านมะเขือ 4. โรงเรียนบ้านจานตะโนน 5. โรงเรียนบ้านดินดำคำไฮ สพป. ขอนแก่น เขต 5 1. โรงเรียนบ้านสันติสุข 2. โรงเรียนโพธิ์ทองหนองเตาปูน 3. โรงเรียนบ้านซำภูทอง 4. โรงเรียนบ้านนาชุมแสง 5. โรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยาคม --------------------------------------------------------- รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพสมองของนักเรียนที่มีแนวโน้มบกพร่องทางการเรียนรู้ รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพสมองของนักเรียนที่มีแนวโน้มบกพร่องทางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Better Brain Program) คือ รูปแบบที่มุ่งพัฒนาสมองเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ดังนี้ 1. แกนหลักการขับเคลื่อน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ประกอบด้วย 2 แกนหลัก ได้แก่ DLTV และ DLIT 2. การเสริมสร้างศักยภาพสมองของนักเรียน คือ กระบวนการดำเนินงานเสริมสร้างศักยภาพสมอง มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 2.1 กิจกรรมเสริมศักยภาพการบริหารจัดการของสมอง (Boost Executive Function) 2.2 บทเรียนกระตุ้นสมอง (Brain Move Lesson) 2.3 กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) 2.4 เมนูอาหารสมอง (Brain Food Menu) 2.5 สื่อและหนังสือแบบเรียน (Book and Learning Resources) องค์ประกอบของรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพสมองของนักเรียนที่มีแนวโน้มบกพร่องทางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล มีรายละเอียด ดังนี้ 1. องค์ประกอบหลักที่ 1 เป็นแกนหลักการขับเคลื่อนการเสริมสร้างศักยภาพสมองของนักเรียนที่มีแนวโน้มบกพร่องทางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ประกอบด้วย 2 แกนหลัก คือ 1) การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และ 2) การศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) 2. องค์ประกอบหลักที่ 2 เป็นองค์ประกอบด้านกระบวนการดำเนินงานเสริมสร้างศักยภาพสมองของนักเรียนที่มีแนวโน้มบกพร่องทางการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 2.1 กิจกรรมเสริมศักยภาพการบริหารจัดการของสมอง (Boost Executive
Function: Boost EF)
หมายถึง การทำกิจกรรมพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำขณะคิด (working
memory) สมาธิ (attention)
การวางแผน (planning) ความยืดหยุ่นในการคิด
(cognitive flexibility) และการควบคุมตัวเอง (inhibitory
control) ให้ทำงานจดจ่อไปถึงเป้าหมาย ซึ่งเรียกรวมกันว่า Executive
Function ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ ดังนี้ 1)
การเคลื่อนไหวร่างกาย (movement) 2) บทคล้องจองและบทเพลง (rhymes
and songs) 3) การเล่น (play) 4) บอร์ดเกมและบัตรภาพบัตรคำ
(board and card games) และ 5) เกมพัฒนาตรรกะและการใช้เหตุผล
(logic and reasoning games) 2.2 บทเรียนกระตุ้นสมอง
(Brain Move Lesson) หมายถึง การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเน้นทักษะที่เด็กมีปัญหาโดยเฉพาะ ใน 3 ทักษะ ดังนี้
1) การอ่านเขียน (literacy) 2) ทักษะการเรียนรู้ (learning skills) และ 3) ทักษะคณิตศาสตร์ (numeracy) 2.3 กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) หมายถึง ลำดับขั้นตอนที่ทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 2.4 เมนูอาหารสมอง (Brain Food Menu) หมายถึง การจัดเมนูอาหารกลางวันของนักเรียนให้ตรงกับความต้องการของสมองนักเรียน
2.5 สื่อและหนังสือแบบเรียน (Book and Learning Resources) หมายถึง การจัดทำหรือจัดหาหนังสือเรียน แบบฝึกหัด สื่อการเรียนรู้ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้โดยเฉพาะ แก้ไขครั้งสุดท้าย : 10:56 น. | 28 สิงหาคม 2559
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : BetterBrainTeam |