ความเคลื่อนไหวล่าสุด
การประชุม ผอ.กลุ่ม DLICT สพท.ทั่วประเทศ
วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ ในการประชุมการประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของ สพฐ. และชี้แจงแนวทางปฎิบัติงานของ กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ คณะทำงาน และทีมวิทยากร รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 ถึง 18 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมทองธาราริเวอร์วิวกรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.สมเกียรติ สรรคพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. ดร.สุวิทย์ บึงบัว รองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สพฐ.(DL Thailand) พลตรีณัฐพงษ์ เพราแก้ว อนุกรรมการด้านนโยบายและแผน และ พันเอกกฤษฎาวุฒิ โสภิกุล อนุกรรมการด้านเทคนิค มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมประชุม ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอประกอบการประชุมได้ ที่นี่ ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล Distance Learning Thailand | DL Thailand อาคารรัชมังคลาภิเษก 2 ชั้น 7 กระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ 319 วังจันทร์เกษม ดุสิต กทม.10300 Phone | Fax: (+66) 02-281-6071 eMail : staff@dlthailand.com |
ประกวดวาดภาพ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในหัวข้อ "โตโยต้ารถยนต์ในฝัน 2018"
ร่วมรับชมการถ่ายทอดสด การสอนเทคนิคการวาดภาพ "จุดฝันจินตนาการสู่แชมป์โลก " โดย อ.สังคม ทองมี ทาง www.dlit.ac.th และ dl.obec.go.th ในวันที่ 22 มกราคม 2561 เวลา 09.30 น.เป็นต้นไป ดาวน์โหลดใบสมัครที่ www.dreamcarthailand.com *** อย่าลืมระบุในใบสมัครว่า "เลือกส่งผลงานผ่านช่องทาง DLIT" เพื่อให้ครูผู้สอนได้สิทธิ์เดินทางไปร่วมการประกวดชิงแชมป์โลกที่ประเทศญี่ปุ่น |
การประชุมปฏิบัติการเตรียมการขยายผล การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามพระราชดำริ ฯ
28 กันยายน 2560 ดร.สมเกียรติ ชอบผล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ สำนักพระราชวัง เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการเตรียมการขยายผล แผนงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามพระราชดำริ สมเด็ชพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมี นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ เลขาธิการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นางมัณฑนา ศังขะกฤษณ์ ข้าราชการบำนาญ อดีตรองเลขาธิการ กพฐ. นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คณะผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระคุณเจ้าคณะผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ คณะผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนพี่เลี้ยง ร่วมการประชุม |
การศึกษาพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 – 2560: ข้อเสนอเชิงนโยบาย
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 – 2560: ข้อเสนอเชิงนโยบาย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2546 - 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษระหว่าง พ.ศ. 2546 - 2560 มีประเด็นในการวิจัย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) ด้านการบริหารจัดการ 3) ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา 4) ด้านคุณภาพการศึกษา และ 5) ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน โดยมีแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย 2 แหล่ง คือ แหล่งข้อมูลเอกสาร และแหล่งข้อมูลบุคคล แหล่งข้อมูลเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องการจัดการศึกษาพิเศษ พระราชกำหนด กฎกระทรวง ระเบียบ แผนปฏิบัติการประจำปี รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานผลการจัดการศึกษาหนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาพิเศษ จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้การสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รวมจำนวน 12 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ และ 3) เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์ข้อมูล (Content Synthesis) |
รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน The Model of Learning Management Promotion to Enhanced Students’ Opportunities and Qualities by Distance Learning Information Technology in Suksa Songkro (Special need education) school under Office of the Basic Education Commission [1]สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์
บทคัดย่อ
รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯ ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลได้มาจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 44 โรงเรียนประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 44 คน ครูผู้สอน จำนวน 440 คน และผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2,865 คน ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ จำนวน 5 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ มี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า พฤติกรรมการเรียนโดยใช้ DLIT ของผู้เรียนที่ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ในภาพรวมทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 เปรียบเทียบปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้น คุณภาพของผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม และผลการสะท้อนความรู้สึกของผู้เรียนต่อการเรียนโดยใช้ DLIT พบว่า ผู้เรียนมีความรู้สึกหลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อการเรียน มีความพึงพอใจ และมีความสุขต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดให้ผ่านสื่อ DLIT ด้านความสามารถของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลการรับฟังความคิดเห็นโดยผู้ใช้และผู้ทรงคุณวุฒิ หลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในการนำไปขยายผล ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดเป็นนโยบายให้สถานศึกษาได้ใช้ ช่องทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.dlit.ac.th) ในระดับสถานศึกษา ควรสร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เห็นความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ จากการนำกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้
คำสำคัญ : รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพของผู้เรียน : การจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ, โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
The Model of Learning Management Promotion to Enhanced Students’ Opportunities and Qualities by Distance Learning Information Technology in Suksa Songkro (Special need education) school under Office of the Basic Education Commission Abstract The Model of Learning Management Promotion to Enhanced Students’ Opportunities and Qualities by Distance Learning Information Technology in Suksa Songkro (Special need education) school under the Office of the Basic Education Commission. The objective is to develop and study the efficiency of the model and the effectiveness of using the model with the policy advocacy to promote learning management to create opportunities and qualities of learners through the use of distance learning information technology (DLIT) of the Suksa Songkro (Special need education) School under the Office of the Basic Education Commission. The information is collected from 44 Suksa Songkro (Special need education) School included 44 school administrators, 440 teachers and 2,865 students of the third and the sixth grade of the academic year 2556 by using the random sampling method. The data were collected through 5 forms of the questionnaires, assessment forms and interview forms. The mean, standard deviation and content analysis were employed to analyze the collected data. The results of the research reveal that the model of learning management promotion to enhanced students’ opportunities and qualities by DLIT in Suksa Songkro (Special need education) school has five components; 1) principles 2) objectives 3) the promotion of learning management 4) measurement and evaluation and 5) success factors. The results showed that the overall of the model was very appropriate. The results of model feasibility and utility assessment were found that was at the highest level. The effectiveness of using the learning management promotion model showed that the learning behaviors of the learners using the DLIT were at a good level. Academic achievement based on school curriculum of the third and the sixth grade of the academic year 2559 was increased when compared to the academic year 2558. The quality of the competency and performance assessment of students in the core curriculum of basic education was at an excellent level. The learner's reflection on learning experiences using the DLIT found that the learners have a variety of impression but most of which are in a good direction for learning, satisfied and happy with the learning activities that teachers provided through DLIT. The teachers' ability in learning management was at a high level. The teachers’ opinions toward the learning management promotion model were at a high level. After using the model, the experts’ and users’ feedback was suitable, feasible and useful to dissemination. The policy recommendations for Office of the Basic Education Commission were creating a policy for the school to use the learning channel to increase the opportunities and qualities of learners by using distance learning information technology (www.dlit.ac.th) at the school level. It was necessary to raise awareness for all stakeholders involved in educational management to see the importance, value and utility of implementing learning processes to increase the opportunities and qualities of learners by using distance learning information technology Keywords : The Model of Learning Management Promotion to Enhanced Students’ Opportunities and Qualities by Distance Learning Information Technology[1] กศ.ด, ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |